

เนื่องจากกีฬาประเภทที่จำเป็นต้องใช้พลังงานในปริมาณมากๆในระยะเวลาอันสั้น เช่น นักวิ่งแบบsprint หรือยกน้ำหนัก นั้นไม่สามารถสร้างพลังงานให้ได้ทันเวลาได้จากกระบวนการหายใจระดับเซลล์(cellular respiration) ในสถานการณ์แบบนี้เซลล์ต่างๆจะสร้างพลังงานผ่านกระบวนการที่ชื่อว่า วัฏจักรคอริ(cori cycle)แทน ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เพียงน้ำตาลกลูโคสที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดมาเป็นเชื้อเพลิงได้เท่านั้น ซึ่งคีโตนบอดี้นั้นไม่สามารถเข้าสู่ วัฏจักรคอริ(cori cycle)ได้ เพราะกระบวนการที่สามารถใช้คีโตนบอดี้เป็นเชื้อเพลิงในการสร้างเป็นพลังงานได้ก็มีเพียงกระบวนการ cellular respiration เท่านั้น ส่วนสำหรับนักกีฬาเพาะกายนั้น การกินแบบ Ketogenic Diet ทีมีการกินคาร์โบไฮเดรตน้อยนั้น ทำใหอินซูลินหลั่งออกมาน้อย การที่มีอินซูลินหลั่งออกมาน้อย ส่งผลให้การขนส่งกรดอะมิโนเข้าสู่เซลล์ลดลงไป การสังเคราะห์กล้ามเนื้อก็ลดลง อีกทั้งยังทำให้มีการสลายตัวของกล้ามเนื้อมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ สัดส่วนการกินแบบ Ketogenic Diet ยังไม่ค่อยเอื้อกับนักกีฬาเพาะกายอีกด้วย เนื่องจากนักกีฬาเพาะกายนั้นต้องการโปรตีนที่มากกว่าปกติ คือมากถึง 1.6 กรัม/น้ำหนักตัว1กิโลกรัม/วัน (คนปกติ 0.8-1 กรัม/น้ำหนักตัว1กิโลกรัม/วัน ) เพื่อการสังเคราะห์กล้ามเนื้อให้ใหญ่ขึ้น และต้องการแคลอรีในระดับที่พอดีเพื่อให้มี ATP มากเพียงพอต่อการสังเคราะห์กล้ามเนื้อ แต่ไม่เหลือสะสมเป็นไขมันใต้ผิวหนังมากเกินไป หากเลือกที่จะกินโปรตีนให้ถึง 1.6 กรัม/น้ำหนักตัว1กิโลกรัม/วัน แต่คงปริมาณแคลอรีให้อยู่แค่ในระดับที่พอดี เพื่อไม่ให้เหลือสะสมเป็นไขมันใต้ผิวหนังมากเกินไป ก็จะต้องกินไขมันน้อยลง ซึ่งจะทำให้คีโตนบอดี้ถูกผลิตน้อยหรืออาจไม่ถูกผลิตเลย เนื่องจาก กรดไขมันเป็นสารตั้งต้นที่สามารถผลิตคีโตนบอดี้ออกมาได้ในปริมาณมาก แต่ในโปรตีนนั้นมีกรดอะมิโนอยู่ครบทั้ง20ชนิด แล้วกรดอะมิโนส่วนใหญ่ก็เป็นสารตั้งต้นของการผลิตน้ำตาลกลูโคส มีกรดอะมิโนเพียง 6 ชนิดเท่านั้นที่สามารถนำมาผลิตเป็นคีโตนบอดี้ได้ ด้วยเหตุนี้ หากตรวจปัสสาวะก็จะพบคีโตนบอดี้ได้น้อยหรืออาจไม่พบเลย หากตรวจเลือดก็จะพบว่าน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จึงไม่สามารถถือได้ว่าเป็นการกินแบบ Ketogenic Diet แต่เป็นเพียงแค่การกินแบบ low-carb diet ธรรมดาแต่หากเลือกที่จะกินโปรตีนให้ถึง 1.6 กรัม/น้ำหนักตัว1กิโลกรัม/วัน โดยที่คีโตนบอดี้ก็ยังถูกผลิตออกมาได้ในปริมาณมาก ก็ต้องยอมให้แคลอรีเกินสมดุล ซึ่งจะทำให้เกิดการสะสมไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น ส่งผลให้เห็นร่องและลอนกล้ามเนื้อไม่ชัดเจน หรือหากเลือกที่จะกินโปรตีนน้อยลง เพื่อให้คีโตนบอดี้ถูกผลิตออกมาได้ในปริมาณมากตามปกติ และคงปริมาณแคลอรีให้อยู่แค่ในระดับที่พอดี กล้ามเนื้อก็จะไม่ใหญ่ขึ้นเนื่องจากได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ
การกินแบบ Ketogenic Diet จึงไม่เหมาะกับนักกีฬาเพาะกาย