

ภาวะดื้ออินซูลิน(Insulin Resistant) เกิดจากการที่ เซลล์ไขมันหลั่งฮอร์โมนที่มีชื่อว่า รีซีสติน (resistin) ออกมา ยิ่งน้ำหนักตัวและปริมาณไขมันในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ระดับฮอร์โมน resistin ก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ตัวรับสัญญาณอินซูลิน(insulin receptor) ที่ผิวเซลล์ถูกยับยั้ง จึงทำให้ เซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะที่เซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อ และเซลล์ไขมัน ไม่สามารถนำกลูโคสที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้ หรือนำไปใช้ได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้มีกลูโคสเหลือค้างอยู่ในกระแสเลือดมาก ซึ่งกลูโคสในเลือดนี้จะถูกขับออกมากับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะมีปริมาตรมากและมีรสหวาน นอกจากนี้ยังทำให้เซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อ ขาดแคลนพลังงาน ส่วนเซลล์ไขมันก็ไม่สามารถนำกลูโคสเข้ามาเก็บสะสมในรูปไขมันได้ทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะดื้ออินซูลิน(Insulin Resistant) อย่างผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นจะซูบผอมลง จากที่แต่ก่อนเคยอ้วนท้วม

การกินแบบ Ketogenic Diet ทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลกลูโคสน้อยลง ทำให้การหลั่งอินซูลินลดลงด้วย ร่างกายไม่ได้ตอบสนองภาวะน้ำตาลกลูโคสและอินซูลินในเลือดต่ำนี้ ด้วยการเพิ่มความไวต่อการรับสัญญาณของอินซูลินให้มากขึ้น แต่ร่างกายตอบสนองภาวะนี้ด้วยการไปหาเชื้อเพลิงตัวอื่นมาการสร้างพลังงาน ซึ่งก็คือกรดไขมันและกรดอะมิโนในอาหารนั่นเอง ซึ่งถ้ากินเข้าไป น้อยกว่า ที่ร่างกายใช้ ร่างกายก็จะดึงไขมันที่สะสมไว้ออกมาชดเชยส่วนที่ขาดไป ทำให้เซลล์ไขมันฝ่อลง ฮอร์โมน resistin ก็จะถูกหลังออกมาน้อยลง ปัญหาการดื้ออินซูลินก็จะทุเลาลง แต่ถ้ากินเข้าไป มากกว่า ที่ร่างกายใช้ ส่วนที่เหลือก็จะถูกลำเลียงไปสะสมในเซลล์ไขมัน ทำให้เซลล์ไขมันโตขึ้น ฮอร์โมน resistin ก็จะถูกหลังออกมามากขึ้น ปัญหาการดื้ออินซูลินก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น ด้วยเหตุนี้ การทดลองที่มีการจับผู้เข้าร่วมมาลดความอ้วน จึงมักจะรายงานผลว่า การกินแบบ Ketogenic Diet สามารถแก้ปัญหา insulin resistant ได้ แต่ถ้าเป็นการทดลองที่ให้ผู้เข้าร่วมคงความอ้วนผอมไว้เท่าเดิม ก็รายงานผลว่า การกินแบบ Ketogenic Diet ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ insulin resistant ดังนั้น ถ้าควบคุมสมดุลตรงนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการกินแบบไหน ก็สามารถบรรเทาปัญหาการดื้ออินซูลินได้
ส่วนกิจกรรมทางกาย(physical activity)ที่เพิ่มขึ้น ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาการดื้ออินซูลินได้เช่นกัน เนื่องจากการเพิ่มกิจกรรมทางกาย(physical activity) ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อต้องการเชื้อเพลิงเพื่อเอาไปสร้างเป็นพลังงานให้มากขึ้นและเร็วขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมดังกล่าว เซลล์กล้ามเนื้อจึงทำการเพิ่มช่องทางการขนส่งเชื้อเพลิงขึ้นมา ด้วยการกระตุ้นตัวรับสัญญาณอินซูลิน(insulin receptor)ที่อยู่บริเวณผิวเซลล์ ทำให้เซลล์สามารถรับเอาน้ำตาลที่ลอยอยู่ในกระแสเลือด เข้ามาสู่เซลล์ได้รวดเร็วขึ้น ปัญหา insulin resistant จึงทุเลาลงด้วยเหตุนี้ การทดลองที่ไม่ได้ควบคุมปัจจัยด้านกิจกรรมทางกาย จึงมักจะรายงานผลว่า การกินแบบ Ketogenic Diet สามารถแก้ปัญหา insulin resistant ได้แต่ถ้าเป็นการทดลองที่ควบคุมปัจจัยด้านกิจกรรมทางกาย ก็รายงานผลว่า การกินแบบ Ketogenic Diet ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ insulin resistant นอกจากนี้ ยากลุ่มTZDs ที่ยับยั้งฮอร์โมน resistin ได้, ยากลุ่มGLP-1 inhibitors และ ยากลุ่มSGLT2 inhibitors ที่สามารถลดความอ้วนได้, bariatric surgery ที่ทั้งลดความอ้วนและเปลี่ยนแปลงการหลั่งของฮอร์โมนต่างๆได้ก็สามารถช่วยแก้ปัญหา insulin resistant ได้เช่นกัน